วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา

สมัยอยุธยาได้รับวัฒนธรรมจากขอม ซึ่งถ่ายทอดวัฒนธรรมลัทธิพราหมณ์เกี่ยวกับแนวความคิดกษัตริย์แบบเทวราชาจากอินเดีย อีกทีหนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินสมัยอยุธยาจึงเป็นสมมติเทพ เปรียบเหมือนเจ้าชีวิตของคนไทยทั้งหลาย การติดต่อระหว่าง กษัตริย์กับประชาชนต้องใช้ราชาศัพท์ นับว่าเป็นการปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างแท้จริง ความรู้สึกดั้งเดิม ที่เคยนับถือพระเจ้าแผ่นดินเหมือนพ่อของลูกก็เริ่มหายไป กลายเป็นแบบนายปกครองบ่าวแทนส่วนวิธีปกครองบ้านเมืองก็ยังคงใช้วิธีการทหารแบบสุโขทัยสำหรับบริหารราชการส่วนภูมิภาค ส่วนการบริหารส่วน กลางได้แบ่งกิจการของประเทศออกเป็น 4 กระทรวง คือ เวียง วัง คลัง นา รวมเรียกว่า"จตุสดมภ์"กษัตริย์เป็นเจ้าแผ่นดิน สามารถพระราชทานที่ดินให้ราษฎร์ทำกินและเพิกถอนกรรมสิทธิ์ได้ ประชาชนตอบแทนแว่น แคว้นด้วยการยอมให้เกณฑ์แรงงานเพื่อใช้ในราชการและงานเพื่อสาธารณประโยชน์ ในยามปกติสุข ขุนนาง ข้าราชการ และประชาชนมีสภาพเป็นพลเรือนเหมือนกันหมด แต่ในยามศึกสงครามชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเป็นทหารราษฎรนับถือศาสนาพุทธ (นิกายหินยาน) และพราหมณ์ไปพร้อม ๆ กัน แต่ศาสนาฮินดูมักมีบทบาทสำคัญในราช สำนัก ซึ่งมีพราหมณ์เป็นผู้ทำหน้าที่นี้ รวมทั้งมีระบบความเชื่อเกี่ยวกับผีสางอยู่แล้ว และที่สำคัญที่สุด คือ แบ่งแยก ประเภทบุคคลในสังคมออกเป็นชั้นต่าง ๆดังนี้1.ชนชั้นมูลนาย ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระาราชวงศ์ ขุนนาง และข้าราชการ2.ชนชั้นพิเศษ ได้แก่ สมณะชีพราหมณ์ และชาวต่างประเทศที่เป็นพ่อค้าวานิช3.ชนชั้นไพร่ฟ้าข้าทาส ได้แก่ สามัญชน ซึ่งอาจมีฐานะเป็น ไพร่ ข้า หรือ ทาส ซึ่งมีจำนวนมาก ประมาณร้อยละ 95 ของประชากรทั้งหมดสังคมสมัยอยุธยานั้นเป็นสังคมแบบศักดินา ซึ่งได้สร้างวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมาโดยเริ่มในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลก- นาถ พระองค์ได้ทรงออกกฎหมายการควบคุมกำลังคนของฝ่ายพลเรือน-ทหารขึ้น มีการกำหนดฐานะและหน้าที่ไว้อย่าง เด่นชัด เช่น ประชาชนทั่วไปมีศักดินา 25 ไร่ ถ้าผู้ใดมีนามากกว่า 400 ไร่ ถือว่าเป็นชนชั้นผู้ดี ต่ำกว่าถือว่าเป็นชนชั้นไพร่ ความรับผิดชอบหน้าที่ก็แตกต่างกัน โดยที่ชนชั้นไพร่อยู่ภายใต้การควบคุมของชนชั้นผู้ดี ชนชั้นไพร่ไม่มีสิทธิมองกษัตริย์ ชนชั้นผู้ดีมีสิทธิในการช่วยเหลือพระพระมหากษัตริย์ระดมพลยามศึกสงคราม นอกจากนั้นยังได้รับสิทธิพิเศษอื่น ๆ ในระบบฐานันดรไพร่หรือระบบศักดินาในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น สะท้อนให้เห็นได้จากบรรทัดฐานของ สังคมสมัยนี้ คือ กฎหมายบังคับให้ราษฎรทุกคนต้องมีมูลนาย และพระเจ้าแผ่นดินมีสิทธิบังคับให้ข้าแผ่นดินรับราชการ โดยไม่มีค่าจ้างหรือเบี้ยเลี้ยง ถ้าไพร่กระทำผิดต่อพระเจ้าแผ่นดิน พ่อแม่ต้องรับโทษทัณฑ์ร่วมกับไพร่ที่เป็นลูก ปัจจัยที่ดิน และแรงงานถูกผูกขาดโดยมูลนาย ในสมัยนั้นมีรูปแบบเศรษฐกิจการเกษตรเลี้ยงตนเอง ชาวบ้านหาของป่า จักสาน ทำน้ำตาล ทำเกลือ และทำงานฝีมือตามความชำนาญเฉพาะด้าน ผลผลิตนำมากินหรือใช้ในครัวเรือน ที่เหลือใช้แลก เปลี่ยนกัน แต่ถ้าหากยังเหลืออีกต้องส่งให้มูลนาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น